๑. การต่อสู้ของกรรมกรหญิงโรงงานฮาร่า (๒๕๑๘)สร้างโดย จอน อึ๊งภากรณ์ ภาพยนตร์สารคดีที่เด่นที่สุดเรื่องหนึ่งของชาติ สร้างโดยผู้ที่ไม่เคย
ถ่ายทำภาพยนตร์มาก่อนโดยใช้กล้องถ่ายภาพยนตร์ขนาดเล็ก ๘ มิลลิเมตร เนื้อหาภาพยนตร์
ถ่ายทอดเรื่องราวการต่อสู้ของเหล่ากรรมกรหญิงในโรงงานผลิตกางเกงยีนส์ฮาร่า ที่เรียกร้อง
ค่าแรงที่ไม่เป็นธรรมจากนายจ้าง
|
๒. คล้องช้าง (๒๔๘๑)ภาพยนตร์สารคดีถ่ายทำโดยคณะผู้สร้างภาพยนตร์จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเดินทางเข้ามาสยาม
ในปี ๒๔๘๑ เพื่อบันทึกงานแสดงคล้องช้าง ที่จังหวัดลพบุรี เนื้อหาแบ่งออกเป็น ๓ ช่วง ช่วง
แรกเป็นเรื่องวิธีการเดินทางมาประเทศสยามและชีวิตบนเรือของคณะถ่ายทำ ช่วงสองเป็นภาพ
ชีวิตและบ้านเมืองกรุงเทพ ช่วงสามเป็นเรื่องการคล้องช้างที่ลพบุรี
|
๓. ทองปาน (๒๕๒๐)เป็นหนังนอกกระแสหรือนอกตลาด ซึ่งสร้างโดยนักกิจกรรมสังคม นักข่าวต่างชาติ นักวิชาการ
ศิลปินเพลงเพื่อชีวิตในนามกลุ่มอีสานฟิล์ม นำโดย ไพจง ไหลสกุล ได้แรงดลใจจากการ
ประชุมสัมมนาเรื่องเขื่อนผามอง ปัญหาการตั้งรกรากใหม่และการเคลื่อนย้ายประชากร หนังมี
สองมิติ มิติหนึ่งแสดงให้เห็นการประชุมซึ่งเป็นเวทีทางความคิดของนักวิชาการ นักปกครอง
ผู้เชี่ยวชาญและประชาชนจากพื้นที่ อีกมิติหนึ่ง ให้เห็นเวทีชีวิตจริงของประชาชนตัวเล็ก ๆ ที่
ได้รับผลกระทบโดยตรงจากเขื่อน
|
๔. ทวิภพ (๒๕๔๗)ภาพยนตร์โดยสุรพงษ์ พินิจค้า ทำจากนิยายดังของ ทมยันตีที่ใครๆ ก็รู้จัก และเคยเป็น
ภาพยนตร์มาแล้ว โดย เชิด ทรงศรี แต่สำหรับทวิภพ ฉบับสุรพงษ์ ได้ตัดต่อพันธุกรรมทวิภพ
ขึ้นใหม่ในแบบของเขาเอง ดังชื่อในภาษาอังกฤษว่า THE SIAM RENAISSANCE หรือเป็น
คำไทยปนแขกว่า สยามปุณภพ สุรพงษ์ทำให้หนังมีสติปัญญาและลุ่มลึกขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ
และกระทำในสิ่งที่ไม่ถูกโฉลกกับสังคมไทยคือการวิพากษ์ตนเองการพูดความจริง หนังเรื่อง
นี้จึงมีทั้งคนเกลียดและคนชอบ
|
๕. โทน (๒๕๑๓)ภาพยนตร์ที่สร้างโดยช่างเขียนโปสเตอร์-หนัง ที่จับพลัดจับผลูมาเป็นผู้กำกับหนัง เป็น
ภาพยนตร์ไทยที่ผู้สร้างตั้งใจจะหนีจากคำประณามที่ว่าหนังไทยน้ำเน่า เปี๊ยก โปสเตอร์
กลายเป็นคลื่นลูกใหม่ลูกแรกของหนังไทยสมัยใหม่ และกลายเป็นผู้สร้างหนังไทยที่มี
บทบาทสำคัญที่สุดคนหนึ่งใน ๒ ทศวรรษต่อมา ตัวหนังสามารถทำรายได้สูงถึง ๖ ล้านบาท
พลิกประวัติศาสตร์หนังไทยในยุคนั้น
|
๖. นิ้วเพชร (๒๕๐๑)ภาพยนตร์ถ่ายทอดการแสดงนาฏศิลป์โขนสร้างโดย กรมศิลปากร ถ่ายทำโดย รัตน์ เปสตันยี เป็นภาพยนตร์ที่ถ่ายทอดความงดงามของนาฏศิลป์ได้อย่างวิจิตรงดงาม ทั้งในฐานะศิลปะภาพยนตร์และศิลปะโขน มีการบรรยายเพื่ออธิบายเรื่องเป็นภาษาอังกฤษโดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
|
๗. น้ำท่วมกรุงเทพ (๒๔๘๕)ภาพยนตร์บันทึกชีวิตของชาวกรุงเทพในวันหนึ่งแห่งช่วงเวลาที่กรุงเทพถูกน้ำท่วมใหญ่ ในยามที่บ้านเมืองตกอยู่ในภาวะภัย-แห่งสงครามโลกครั้งที่ ๒ ถ่ายโดย แท้ ประกาศวุฒิสาร
|
๘. บันทึกเหตุการณ์ ๖ ตุลา (๒๕๑๙)เป็นการบันทึกเหตุการณ์สังหารโหดกลางเมืองในวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ โดยช่างภาพนิรนาม ไม่ต้องมีคำบรรยายใด ๆ เพราะเหตุการณ์ได้เปิดเผยตัวของมันเองต่อหน้าต่อตา เป็นผลงานที่เผยแพร่เงียบ ๆ ไปทั่วโลก
|
๙. ผีตองเหลือง (๒๕๐๕)ภาพยนตร์เชิงมานุษยวิทยาโดยคณะนักสำรวจชาวเยอรมันนีร่วมกับสยามสมาคม เดินทางไปสำรวจและบันทึกภาพยนตร์ชีวิตความเป็นอยู่ของชนกลุ่มน้อยที่ถูกเรียกว่าผีตองเหลือง ณ เทือกเขาแถบจังหวัดน่าน
|
๑๐. ผีเสื้อและดอกไม้ (๒๕๒๘)ผลงานภาพยนตร์ของ ยุทธนา มุกดาสนิท สร้างจากหนังสือนิยายเรื่องเดียวกันของ “นิพพาน” บอกเล่าเรื่องราวในวัยเรียนและการดำรงชีพของเด็กไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
|
๑๑. แผลเก่า (๒๕๒๐)สร้างโดย เชิด ทรงศรี ภาพยนตร์ซึ่งสร้างจากนวนิยายของไม้เมืองเดิม เล่าเรื่องความรักของหนุ่มสาวชาวนาในชนบทไทยภาคกลางด้วยโครงเรื่องของความรักที่ไม่สมหวัง เป็นโศกนาฏ-กรรมที่ก่อความสะเทือนใจสูงภาพยนตร์ออกฉายในปี ๒๕๒๐ และได้รับความนิยมจากผู้ชมอย่างกว้างขวาง ในช่วงเวลาที่สังคมไทยเครียดจัดจากกระแสความขัดแย้งทางการเมือง
|
๑๒. พระเจ้ากรุงสยามเสด็จฯ ถึงกรุงเบิร์น (๒๔๔๐)ภาพบันทึกเหตุการณ์เมื่อครั้งที่รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสกรุงเบิร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในคราวเสด็จพระราชดำเนินเยือนทวีปยุโรป ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๐ เป็นภาพยนตร์ม้วนแรกสุดที่ถ่ายทำเกี่ยวกับคนไทย และทำให้คนไทยได้เห็นภาพเคลื่อนไหว ของอดีตพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของเราเป็นครั้งแรก แม้จะเป็นเพียงชั่วระยะเวลาไม่กี่วินาทีก็ตาม
|
๑๓. พระเจ้าช้างเผือก (๒๔๘๔)ภาพยนตร์ซึ่งสร้างโดยผู้นำทางความคิดและการเมืองของไทยเมื่อปี ๒๔๘๓ เพื่อทวนกระแสชาตินิยมจัด และกระหายสงครามและเพื่อให้สติแก่คนไทยและชาวโลกเรื่องสงครามและสันติภาพ
|
๑๔. พระราชพิธีเฉลิมกรุงเทพมหานครและพระราชวงศ์จักรีอันประดิษฐานมาครบ ๑๕๐ ปี (๒๔๗๕)ถ่ายทำโดยคณะพี่น้องสกุลวสุวัต ผู้บุกเบิกกิจการสร้างภาพยนตร์ไทย โดยได้รับพระราช-ทานเงินจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ให้ถ่ายทำขึ้นเพื่อบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์สำคัญครั้งหนึ่งของชาติ นับเป็นภาพยนตร์เสียงในฟิล์มเรื่องแรก ๆ เรื่องหนึ่งของไทย
|
๑๕. พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (๒๔๖๘)ภาพยนตร์ของกองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าวกรมรถไฟหลวง ทำขึ้นเพื่อจำหน่ายแก่ผู้สนใจเก็บไว้เป็นที่ระลึก บันทึกเหตุการณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการบันทึกภาพยนตร์พระราชพิธีสำคัญ ตามโบราณราชประเพณีของไทย
|
๑๖. ไฟเย็น (๒๕๐๘)ภาพยนตร์ซึ่งสร้างขึ้นโดยการสนับสนุนจากสำนักข่าวสารอเมริกัน กรุงเทพ เพื่อเผยแพร่ให้ชาวไทยเห็นภัยร้ายของลัทธิคอมมิวนิสต์จากต่างประเทศ ซึ่งแทรกซึมเข้ามาบ่อน-ทำลายความสงบสุขของชาติไทย
|
๑๗. ประมวลภาพเห็นการณ์สูญเสียพระเอกผู้ยิ่งใหญ่ มิตร ชัยบัญชา (๒๕๑๓)เป็นภาพยนตร์เชิงข่าวซึ่งผู้สร้างฉวยโอกาสหลังจากการเสียชีวิตของ มิตร ชัยบัญชา ถ่ายทำ
ขึ้นเพื่อออกฉายตามโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศ ภาพที่สะเทือนใจที่สุดในภาพยนตร์นี้ มิใช่ภาพ
ตอนมิตรตกจากเฮลิคอปเตอร์ แต่เป็นภาพที่ศพมิตรถูกยกขึ้นตามช่องหน้าต่างรอบศาลาตั้งศพ
เพื่อให้แฟน ๆ ประจักษ์ตาว่ามิตร เสียชีวิตจริงก่อนที่จะบรรจุศพลงโลง
|
๑๘. มนต์รักลูกทุ่ง (๒๕๑๓)ภาพยนตร์เพลงแบบไทย ๆ เป็นผลงานความสำเร็จสูงสุดของวงการเพลงลูกทุ่งไทย และ
หนังไทยยุค มิตร-เพชรา ผสมผสานกันระหว่างลูกทุ่งฮิตกับหนังไทยฮิต กลายเป็นหนังไทย
ที่ออกฉายโรงเดียวต่อเนื่องกันยาวนานกว่าหกเดือนในกรุงเทพ สร้างและกำกับโดย
รังสี ทัศนพยัคฆ์
|
๑๙. รัฐประหาร ๒๔๙๐ (๒๔๙๐)ภาพยนตร์ข่าวบันทึกเหตุการณ์รัฐประหาร ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ ถ่ายโดย แท้ ประกาศวุฒิสาร
ซึ่งเป็นการรัฐประหารล้มล้างรัฐบาลที่สืบทอดจากการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ยุค
เผด็จการทหาร
|
๒๐. โรงแรมนรก (๒๕๐๐)ภาพยนตร์ไทยผลงานของรัตน์ เปสตันยี ซึ่งเล่าเรื่องเหตุการณ์หนึ่งวันหนึ่งคืนในโรงแรมสวรรค์ โรงแรมเล็ก ๆ ในชนบทแห่งหนึ่งถ่ายทำทั้งเรื่องด้วยการสร้างฉากเกือบจะฉากเดียวในโรงถ่ายภาพยนตร์ เป็นภาพยนตร์ที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย
|
๒๑. ลุงบุญมีระลึกชาติ (๒๕๕๓)ภาพยนตร์ไทยที่ได้รับรางวัลปาล์มทองคำ หรือรางวัลชนะเลิศจากเทศกาลภาพยนตร์เมือง
คานส์ ครั้งที่ ๖๓ เป็นการประกาศชัยชนะทางปัญญาของชาติ ด้วยสติปัญญาของการสร้าง
สรรค์งานภาพยนตร์ ซึ่งร้อยปีอาจมีสักคน
|
๒๒. ลูกอีสาน (๒๕๒๕)ภาพยนตร์โดยวิจิตร คุณาวุฒิ สร้างจากนิยายเรื่องลูกอีสานของคำพูน บุญทวี เป็นภาพยนตร์ที่ถ่ายทอดวิถีชีวิตประจำวันในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ของคนอีสาน เรื่องเล่าจากความ
ทรงจำซึ่งเป็นหนังที่ดีที่สุดของวิจิตร คุณาวุฒิ และของไทยเรื่องหนึ่ง
|
๒๓. สุดสาคร (๒๕๒๒)ภาพยนตร์แอนิเมชันหรือการ์ตูนวาดด้วยมือขนาดยาวเรื่องแรกของไทย ผลงานของ
ปยุต เงากระจ่าง จิตรกรผู้สร้างภาพยนตร์การ์ตูนไทยสำเร็จเป็นคนแรก สุดสาครเป็นภาพยนตร์
เกียรติยศของชาติ เพราะทำให้ชาติไทยปรากฏอยู่ในโลกของหนังการ์ตูนเรื่องยาวแต่เบื้องหลัง
การสร้างคือความทุกข์ทรมาน ป่วยเจ็บ และขมขื่น
|
๒๔. อนุทินวีรชน ๑๔ ตุลา (๒๕๑๗)เป็นบันทึกภาพประวัติศาสตร์สำคัญของชาติไทย ซึ่งเขียนด้วยกล้องถ่ายภาพยนตร์ โดย
อาจารย์ชิน คล้ายปาน อาจารย์คณะวารสารศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และเพื่อน
ช่างภาพสื่อมวลชนอีกบางคนภาพยนตร์นี้เป็นประวัติศาสตร์ที่มีชีวิตชีวาที่สุดชิ้นหนึ่งของชาติ
|
๒๕.! อัศเจรีย์ (๒๕๑๙)ภาพยนตร์สั้นเล่าเรื่องอย่างกวีนิพนธ์เรียกร้องหาความเท่าเทียมกันแทนเด็กๆ ที่ขาดแคลน
ยากไร้ผลงานของ สุรพงษ์ พินิจค้า ส่งประกวดงานประกวดภาพยนตร์สารคดีของธนาคาร
กรุงเทพ ในปี ๒๕๒๐ ล้ำหน้าขนบธรรมเนียมหนังสารคดีไทย จนกรรมการไม่กล้าให้รางวัล
ชนะเลิศแต่ก็ไม่กล้าไม่ให้รางวัลอะไรเลยจึงได้รางวัลพิเศษ เป็นหนังสารคดีที่สร้างสรรค์
เรื่องหนึ่งของชาติ
|